เปิดตำนาน เตาหมูกระทะ จาก #บุพเพสันนิวาส เดินทางจากมองโกล สู่อโยธยา

บุพเพสันนิวาส

          เปิดวิวัฒนาการเตาหมูกระทะ กับรูปทรงโค้งเจาะรู ปิ้งย่างต้มน้ำได้ในคราวเดียว พบมีตำนานเรื่องเล่าจากมองโกล เดินทางสู่ ญี่ปุ่น เกาหลี และมาจบที่อโยธยา


          หากใครที่ได้ดูละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส คงต้องตลกไปความสนุกสนานกับการที่แม่การะเกด อยากกินหมูกระทะมาก หากแต่ไม่มีเตา จึงลงทุนวาดภาพเตาหมูกระทะ แถมเจาะรูพร้อม จนพี่หมื่นแปลกใจว่าเตานั้นจะออกมาแบบไหน

บุพเพสันนิวาส
          อย่างไรก็ตาม เตาหมูกระทะที่เราคุ้นหูคุ้นตานั้น มีประวัติที่มาที่ยาวไกล โดยในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ได้ระบุว่า เรื่องเล่าของเนื้อย่างนั้น มีมาตั้งแต่ยุคก่อนสงครามของญี่ปุ่น ทหารมองโกเลียมักจะชื่นชอบการกินเนื้อลูกแกะ ทหารจึงนำเอาหมวกเหล็กของตัวเอง ที่มีลักษณะโค้งมาใช้ประกอบอาหาร ทำเป็นเตาปิ้งเนื้อแกะ

          จนกระทั่งปี ค.ศ. 1918 จึงมีการบันทึกถึงเรื่องเนื้อย่างครั้งแรกไว้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะเพิ่มจำนวนประชากรแกะให้สูงถึง 1 ล้านตัว จึงมีการตั้งฟาร์มแกะ 5 แห่งทั่วญี่ปุ่น แต่เกิดวิกฤตเนื้อแกะล้นตลาด ต่อมา ฟาร์มทุกแห่งก็ถูกปิดยกเว้นที่เกาะฮอกไกโด จึงทำให้หลังจากที่เกษตรกร ไถเอาขนแกะมาแล้ว ก็ฆ่าแกะแล้วนำมาปิ้งกิน

บุพเพสันนิวาส

          ในปี 1931 ได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า เนื้อย่างเจงกิสข่าน ซึ่งคาดว่าคำคำนี้คิดขึ้นมาโดยนายโทคุโซะ โคมาอิ หนุ่มจากเมืองซัปโปโร่ เกาะฮอกไกโด และคาดว่าเขาเองตั้งชื่อนี้เพราะได้แรงบันดาลใจมากจากเนื้อย่างสไตล์จีนตอนเหนือ

          อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อมีผู้ที่นิยมรับประทานเนื้อแกะปิ้งย่างกันอย่างแพร่หลาย บวกกับญี่ปุ่นมีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื้อจากเนื้อแกะ มาเป็นเนื้อวัว และจะเรียกปิ้งย่างสไตล์นี้ว่า ยาคินิคุ ซึ่งเนื้อย่างสไตล์เจงกิสข่าน ก็ถือเป็นปิ้งย่างแบบยาคินิคุเช่นเดียวกัน

บุพเพสันนิวาส

          ในปี 1936 ได้มีการเปิดร้านเนื้อย่างเจงกิสข่านครั้งแรกขึ้นในโตเกียว และใช้ชื่อร้านว่า Jingisu-sō ที่แปลว่า ร้านเจงกิส

          ในอีกทางหนึ่ง ยังมีการกล่าวกันว่า เนื้อย่างแบบนี้ได้อิทธิพลมาจากอาหารเกาหลีที่ชื่อว่า บูโกลกิ และ กัลบี้ และเป็นที่นิยมอย่างมากในญี่ปุ่นในสมัยศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะหลังจากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งร้านอาหารที่เสิร์ฟปิ้งย่างจะบอกว่าร้านนั้นเสิร์ฟเมนูแบบ โฮะโรมอนยากิ หรือเรียกสั้น ๆ ว่าอาหารโชซอน แต่เมื่อเกาหลีแบ่งประเทศออกเป็นเหนือและใต้ นักธุรกิจเกาหลีใต้ก็เลิกเรียกอาหารชนิดนี้ว่า โชซอน และเปลี่ยนชื่อเป็น 韓国料理 ที่แปลว่า อาหารเกาหลีใต้

บุพเพสันนิวาส

          ส่วนหมูกระทะนั้น คาดว่าเข้ามาในไทยในช่วงปี พ.ศ. 2500 ซึ่งแรกเริ่มจะมีการนำเข้ามาขายในภัตตาคาร เรียกว่า เนื้อย่างเจงกีสข่าน ส่วนในภาคอีสานนั้นจะเรียกว่า เนื้อย่างเกาหลี โดยที่ จ.อุบลราชธานี จะมีร้านต้นตำรับที่เรียกว่า หมื่นทิพย์เนื้อย่างเกาหลี แต่ในยุคแรกนั้นจะมีการเสิร์ฟเป็นชุด ๆ มากกว่า

          อย่างไรก็ตาม อาหารสไตล์ปิ้งย่างเริ่มแพร่หลายมาก ๆ จากร้านไดโดม่อน ที่ได้นำเสนอปิ้งย่างรูปแบบใหม่ ด้วยการทำเป็นร้านปิ้งย่างสไตล์บุฟเฟ่ต์ ลูกค้าสามารถเลือกอาหารได้ตามใจจากเมนูหลากหลายที่มี จนร้านถูกขนานนามว่า "บิดาแห่งบุฟเฟ่ต์หมูกะทะ" และเมื่อเตาแบบโดมที่ถูกใช้ในเนื้อย่างเจงกิสข่าน มาผสานกับบุฟเฟ่ต์ จึงกลายเป็นบุฟเฟ่ต์หมูกระทะที่เรารู้จักในปัจจุบัน

บุพเพสันนิวาส

บุพเพสันนิวาส




ภาพจาก Instagram ch3thailand, broadcastthaitv, mello.me
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดตำนาน เตาหมูกระทะ จาก #บุพเพสันนิวาส เดินทางจากมองโกล สู่อโยธยา อัปเดตล่าสุด 28 มีนาคม 2561 เวลา 11:55:35 58,276 อ่าน
TOP
x close