สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 อนุชาของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา ที่เรียกได้ว่าเป็นยุคทอง บ้านเมืองสงบสุข เจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง ไร้ศึกสงคราม เรียกได้ว่า พรหมลิขิต ละครฟอร์มยักษ์ภาคต่อจาก บุพเพสันนิวาส ได้สอดแทรกความรู้และแง่มุมของประวัติศาสตร์ไทยในสมัยอยุธยาผ่านเนื้อเรื่องและตัวละครต่าง ๆ ออกมาได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นตัวละครที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ไทยอีกด้วย และหนึ่งในนั้นก็คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ เจ้าฟ้าพร กษัตริย์สมัยอยุธยา องค์ที่ 31 พระอนุชาของ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ที่รับบทโดย อ้วน เด่นคุณ งามเนตร เพื่อให้อินกับละครกันให้มากขึ้น เราขอพาทุกคนไปทราบถึงประวัติของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กันค่ะ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ต่อจากสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (พระเชษฐา) ทรงครองราชย์นาน 26 ปี (พ.ศ. 2275-2301) มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าพร เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) กับสมเด็จพระพันวษา มีพระเชษฐา คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ) และพระกนิษฐา คือเจ้าฟ้าหญิงไม่ทราบพระนาม ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เจ้าฟ้าพรได้รับการสถาปนาเป็นพระบัณฑูรน้อยใน ต่อมาได้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ มีพระอัครมเหสี 3 องค์ ได้แก่ กรมหลวงอภัยนุชิต กรมหลวงพิพิธมนตรี และ อินทสุชาเทวี มีพระราชโอรสและพระราชธิดากว่า 100 องค์ จากข้อสันนิษฐานได้กล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเป็นพระนามเฉพาะที่เรียกกันภายหลังเสด็จสวรรคต เนื่องจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งเป็นพระราชโอรสในขณะนั้น (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ และเรียกขุนหลวงบรมโกศ ที่คาดว่ามาจากคำว่า พระเจ้าอยู่หัว (ในพระ) บรมโกศ ข้าราชการยุคนั้นจึงออกพระนามติดปากกันจนปัจจุบันหลายคนคิดว่าเป็นพระนามจริงไปแล้ว เมื่อสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ได้พระราชทานราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ แต่พระองค์ไม่ต้องการสืบราชสมบัติเพราะเห็นว่ามีกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งสมควรได้สืบราชสมบัติมากกว่า พระเจ้าท้ายสระจึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย (พระราชโอรสองค์รอง) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในขณะนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราชอยู่เกิดไม่พอพระทัย เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้วจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พร้อมสำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ โดยส่งพระราชาคณะ 2 รูป คือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป ไปลังกา เพื่อช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกา ในช่วงสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถือเป็นช่วงที่บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีศึกสงคราม จนทำให้เกิดวรรณกรรมหลากหลายแขนง โดยพระองค์ทรงมีผลงานประพันธ์หลายเรื่อง เช่น โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก ที่ได้ทรงประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเสด็จตามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ไปกำกับการปฏิสังขรณ์วัดกุฎีดาว พ.ศ. 2269 ณ ตำหนักชีปะขาว เพื่ออำนวยการรื้อพระวิหารพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก เมืองอ่างทอง, โคลงพาลีสอนน้อง, ทศรถสอนพระราม, โคลงราชสวัสดิ์, โคลงราชาณุวรรต, โคลงประดิษฐ์พระร่วง เป็นต้น รวมไปถึงพระโอรสองค์แรก คือ เจ้าฟ้ากุ้ง ได้นิพนธ์วรรณกรรมไว้มากมายเช่นเดียวกัน อาทิ กาพย์ห่อโคลงนิราศประพาสธารทองแดง เพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง พระมาลัยคำหลวง เป็นต้น และยังเป็นยุคที่เกิดกวีเก่ง ๆ เป็นจำนวนมาก ปลายรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ประมาณปี พ.ศ. 2301) ทรงพระประชวรหนัก จึงได้มอบราชสมบัติแก่พระราชวังบวร กรมขุนพรพินิต (พระโอรสองค์ที่ 2) ซึ่งก่อนขึ้นครองราชย์นั้นได้มีการสู้รบกันระหว่างพี่น้องภายในจนปราบได้สำเร็จ และขึ้นครองราชย์เป็นลำดับต่อไป พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร แต่เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี (พระเชษฐา) อยากขึ้นครองราชย์เช่นกัน สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงสละราชบัลลังก์ให้หลังครองราชย์เพียง 2 เดือนเท่านั้น และเสด็จออกจากพระราชวังไปผนวชที่วัดประดู่ เจ้าฟ้าเอกทัศน์จึงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือ พระเจ้าอยู่หัวสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) สำหรับบทของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในละคร พรหมลิขิต รับบทโดย อ้วน เด่นคุณ งามเนตร เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (เกรท วรินทร ปัญหกาญจน์) ผู้จงรักภักดีต่อพระเชษฐา ไม่หวังบัลลังก์ แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ ซึ่งเป็นพระราชบิดา มอบราชบัลลังก์ให้สืบต่อ แต่พระองค์สละให้พระเชษฐา หรือ พระเจ้าท้ายสระ ในที่สุด จบไปแล้วสำหรับประวัติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ยุคนี้เป็นยุคทองของวรรณคดีและศาสนาในสมัยอยุธยาเลยก็ว่าได้ ใครชอบละครอิงประวัติศาสตร์ก็อย่าลืมติดตามชม พรหมลิขิต กันนะคะ เรื่องย่อละคร พรหมลิขิต ภาคต่อของละครรักโรแมนติกอิงประวัติศาสตร์ บุพเพสันนิวาส เปิดผังความสัมพันธ์ตัวละครใน พรหมลิขิต ใครเป็นใครมาดูกัน ย้อนรู้จักตัวละครจาก บุพเพสันนิวาส และ พรหมลิขิต ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เปิดประวัติ หลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) พระมหากษัตริย์ผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย เปิดประวัติ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ตัวละครที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ไทย ประวัติ พระเจ้าองค์ดำ กับบทบาทสำคัญช่วงต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ประวัติ หลวงชิดภูบาล ลูกชายแม่มะลิ หนึ่งในมหาดเล็กใกล้ชิดสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ประวัติ โกษาธิบดีจีน เสนาบดีกรมพระคลัง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ประวัติ พระยาราชนุกูล (ทองคำ) คนสนิทพระเจ้าท้ายสระ บรรพบุรุษแห่งราชวงศ์จักรี ขอบคุณข้อมูลจาก : ช่อง 3, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์, เฟซบุ๊ก ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา, เฟซบุ๊ก วัดหันตรา พระมหาอุทัย ปิยธมฺโม, เฟซบุ๊ก หมากแข้ง, เฟซบุ๊ก Broadcast Thai Television และ Instagram denkhun__ngamnet
แสดงความคิดเห็น