

พวย หมวกแหลม ในเรื่อง บุพเพสันนิวาส ละครอิงประวัติศาสตร์ไทย เป็นหนึ่งในเครื่องแบบขุนนางสมัยกรุงศรีอยุธยา สืบต่อมายังสมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะเป็นหมวกทรงกรวยยอดมน ได้รับอิทธิพลมาจากการโพกผ้าของชาวเปอร์เซีย
ต้องยอมรับเลยว่าละคร เรื่อง บุพเพสันนิวาส ถือเป็นละครยอดฮิตที่ละเมียดละไมในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ไม่ว่าจะเป็นบทประพันธ์ จนถึงนักแสดง รวมไปถึงบทโทรทัศน์ร่วมสมัยดูง่าย แถมยังสอดแทรกเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของชาติไทยเอาไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาผ่านฉากต่าง ๆ อย่างเช่นฉากที่คุณพี่เดชเข้าพิธีอวยยศ จากหมื่น เป็นขุน ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกคนในฉากสวมหมวกแหลม จนหลายคนสงสัยว่าเจ้าหมวกแหลม นี่คืออะไร มีที่มาที่ไปยังไง

โดยเมื่อครั้งที่คณะราชทูตในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2229 ได้สวมเครื่องแต่งกายดังกล่าวจนเป็นที่ดึงดูดความสนใจจากชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก การแต่งกายเลียนแบบคณะราชทูตไทยด้วย ลอมพอก จึงกลายเป็นกระแสความนิยมขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการสวมลอมพอกพบในพระราชพิธีแรกนาขวัญ หรือวันพืชมงคล พระยาแรกนาจะสวมใส่ไว้นั่นเอง






ภาพจาก Instagram broadcastthaitv, ทวิตเตอร์ @Pom_paramee
ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก ชมรมประวัติศาสตร์สยาม